ช่วงเวลาการยื่นภาษีเงินได้ประจำปีกำลังจะวนกลับมาอีกครั้ง และการวางแผนภาษี เช็กค่าลดหย่อน หรือสิทธิ์ลดหย่อนภาษีที่เราสามารถใช้ได้ก็เป็นสิ่งสำคัญ และสำหรับใครที่ซื้อบ้านหรือคอนโดในปีนี้ เรารวม สิทธิ์ลดหย่อนภาษี 2566 สำหรับคนที่กำลังผ่อนบ้าน ผ่อนคอนโด ที่คุณสามารถใช้ลดหย่อนภาษีนอกเหนือจากค่าลดหย่อนอื่นๆ พร้อมตอบข้อสงสัยว่า ดอกเบี้ยบ้านใช้ลดหย่อนภาษีได้เท่าไหร่ ไว้ในบทความนี้แล้ว
1. ค่าลดหย่อนดอกเบี้ยที่อยู่อาศัย (ดอกเบี้ยบ้าน ลดหย่อนภาษี)
สิทธิ์ลดหย่อนภาษีของคนที่ซื้อที่อยู่อาศัย ไม่ว่าจะเป็นดอกเบี้ยที่เกิดจากการซื้อบ้าน ซื้อคอนโด การเช่าซื้อ กู้เพื่อสร้างอาคารที่อยู่อาศัย หรือการกู้เงินสร้างบ้านบนที่ดินที่มี รวมถึง การจำนองอาคารที่ซื้อหรือสร้างเป็นหลักประกันการกู้ยืม ฯลฯ กรมสรรพากรกำหนดให้คุณสามารถนำดอกเบี้ยที่เกิดจากกู้เงินเพื่อที่อยู่อาศัยมาใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท โดยมีเงื่อนไขดังต่อไปนี้
- สิทธิ์ลดหย่อนภาษีสามารถใช้ได้กับการซื้อที่อยู่อาศัยกี่หลังก็ได้ แต่เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท
- ต้องเป็นดอกเบี้ยที่เกิดจากการกู้เงินจากผู้ประกอบกิจการภายในประเทศที่กรมสรรพากรกำหนด ได้แก่ ธนาคาร บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ สหการณ์ นายจ้างที่มีกองทุนจัดสรรไว้เป็นสวัสดิการ บริษัทประกันชีวิต หรือ บริษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัยเท่านั้น
- ต้องใช้ เอกสารรับรองการจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ยืม ที่เจ้าหนี้ออกให้ (หนังสือรับรองดอกเบี้ยบ้าน) เป็นหลักฐานในการลดหย่อนภาษี (ดาวน์โหลดเอกสาร ลย.02 ได้ที่ https://www.rd.go.th)
2. ช้อปดีมีคืน 2566 ลดหย่อนภาษี
สำหรับคนที่ซื้อบ้านใหม่และมีการซื้อของแต่งบ้าน คุณสามารถนำค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการซื้อของแต่งบ้านจากร้านค้าภายในประเทศระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 15 กุมภาพันธ์ 2566 มาลดหย่อนภาษี 2566 ได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 40,000 บาท โดยจะแบ่งสิทธิ์ลดหย่อนภาษีเป็น 2 ส่วนคือ
1. ค่าสินค้าหรือบริการ 30,000 บาทแรก สามารถใช้ใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบแบบกระดาษ หรือ ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ เป็นหลักฐานในการลดหย่อนภาษี
2. ค่าสินค้าหรือบริการ 10,000 บาทที่เหลือ ใช้ใบเสร็จรับเงิน หรือใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ เป็นหลักฐานในการลดหย่อนภาษีเท่านั้น (สามารถตรวจสอบรายชื่อผู้ประกอบการหรือร้านค้าที่สามารถออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ได้ที่เว็บไซต์กรมสรรพากร https://efiling.rd.go.th)
เงื่อนไขการใช้ช้อปดีมีคืน ลดหย่อนภาษี 2566 มีดังต่อไปนี้
- จะต้องซื้อสินค้าและบริการจากร้านค้าภายในประเทศ ที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)
- ต้องใช้ใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบ หรือใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ เป็นหลักฐานในการลดหย่อนภาษี
- ในกรณีที่ซื้อหนังสือหรือ E-Book สามารถใช้ใบเสร็จรับเงิน หรือหลักฐานอื่นๆ แทนได้
- รวมบิลได้ แต่ต้องไม่เกิน 40,000 บาท ต่อคน
- ในกรณีที่ซื้อสินค้าหรือบริการแบบผ่อนชำระ (ทั้งผ่อนชำระแบบมีดอกเบี้ยและ โปรผ่อน 0%) สามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีได้เต็มจำนวนของราคาสินค้าหรือบริการนั้นๆ แต่ไม่เกิน 40,000 บาท
หมายเหตุ
- ผู้ที่สามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษี ช้อปดีมีคืน 2566 จะต้องเป็นผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีเท่านั้น
- ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (บัตรคนจน) ไม่สามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีช้อปดีมีคืน 2566 ได้
- ข้อมูลจาก https://www.rd.go.th
3. ประกัน MRTA ลดหย่อนภาษี
สำหรับคนที่ซื้อบ้านใหม่พร้อมกับทำประกันคุ้มครองสินเชื่อบ้าน หรือ ประกัน MRTA ควบคู่มาด้วย คุณสามารถเอาค่าเบี้ยประกัน MRTA มาใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีได้เช่นกัน โดยมีเงื่อนไขดังต่อไปนี้
- ใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี
- จะต้องเป็นประกันที่ครอบคลุมวงเงิน หรือระยะเวลาเอาประกันตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป
- จะต้องเป็นประกันคุ้มครองสินเชื่อบ้านที่ทำกับบริษัทประกันในประเทศไทยเท่านั้น
ซื้อบ้านแบบกู้ร่วม ก็ใช้ดอกเบี้ยบ้านลดหย่อนภาษีได้
สำหรับคนที่ซื้อบ้านหรือที่อยู่อาศัยแบบกู้ร่วม ก็สามารถใช้ดอกเบี้ยบ้านลดหย่อนภาษีเช่นกัน แต่จะมีข้อแตกต่างตรงที่ สิทธิ์ลดหย่อนภาษีดอกเบี้ยบ้านจะถูกหารตามจำนวนผู้ร่วมกู้ และจะสามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาทต่อบ้านหนึ่งหลัง
สำหรับสามี-ภรรยาที่กู้ซื้อบ้านร่วมกัน และมีความต้องการจะใช้ดอกเบี้ยบ้านลดหย่อนภาษี กรมสรรพากรกำหนดเงื่อนไขไว้ว่า จะต้องเป็นสามี-ภรรยาที่จดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น และสามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีได้คนละครึ่งตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาทต่อบ้านหนึ่งหลังเช่นกัน
ตัวอย่างเช่น
มีผู้กู้ร่วมทั้งหมด 2 คน จ่ายดอกเบี้ยบ้านตลอดปีทั้งหมด 120,000 บาท แต่กฎหมายกำหนดให้สามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีได้เพียง 100,000 บาท ดังนั้น เฉลี่ยแล้วแต่ละคนจะสามารถนำดอกเบี้ยบ้านไปลดหย่อนภาษีได้คนละ 50,000 บาท เป็นต้น
ดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์บ้าน นำไปลดหย่อนภาษีได้หรือไม่?
สำหรับคนที่ทำการรีไฟแนนซ์บ้านในช่วงปีที่ผ่านมา ก็สามารถนำดอกเบี้ยบ้านที่จ่ายไปใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีได้เช่นกัน แต่มีข้อแม้ว่า ดอกเบี้ยบ้านที่นำไปหักลดหย่อนภาษี จะต้องเป็นดอกเบี้ยบ้านที่เกิดจากเงินกู้ก้อนเดิมเท่านั้น ทั้งนี้เพราะ เงินกู้ก้อนใหม่ถือเป็นเงินกู้ส่วนบุคคลที่เกิดจากการนำที่อยู่อาศัยมาเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน ไม่นับเป็นการกู้เพื่อซื้อบ้านหรือที่อยู่อาศัยหลังใหม่ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้สามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีดอกเบี้ยบ้านได้เพียงบางส่วนเท่านั้น
เพราะการใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีนอกจากจะช่วยให้เราจ่ายภาษีเงินได้ประจำปีถูกลงแล้ว ค่าลดหย่อนต่างๆ ยังมีส่วนช่วยเพิ่มโอกาสที่เราจะได้รับเงินคืนภาษีอีกด้วย และหากคุณเป็นหนึ่งคนที่ซื้อบ้านใหม่ภายในปีนี้ อย่าลืมขอเอกสารรับรองดอกเบี้ยบ้านจากธนาคารหรือสถาบันการเงินที่คุณทำการขอสินเชื่อบ้านไว้ เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษี สำหรับการ ยื่นภาษีเงินได้ประจำปี 2566 (ยื่นต้นปี 2567) เพื่อที่คุณจะได้รับสิทธิ์ประโยชน์ทางภาษีและดอกเบี้ยบ้านอย่างเต็มที่
ไม่ว่าสินเชื่อบ้านที่คุณมองหาจะเป็น สินเชื่อบ้านใหม่ หรือสินเชื่อบ้านมือสอง เราขอแนะนำ สินเชื่อบ้าน ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย สินเชื่อบ้าน ดอกเบี้ยต่ำ สำหรับพนักงานประจำที่มีรายได้ 30,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป พร้อมข้อเสนอสุดพิเศษ อาทิ ฟรีค่าประเมินราคาหลักทรัพย์และค่าดำเนินการสินเชื่อ พร้อมให้วงเงินกู้สูงสุดไม่เกิน 10 ล้านบาท พร้อมเงื่อนไขการผ่อนชำระที่เข้าใจง่าย ให้คุณเป็นเจ้าของบ้านในฝันได้อย่างที่ใจต้องการ
สมัครสินเชื่อบ้าน ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ได้ 2 ช่องทาง
- เว็บไซต์ https://www.cimbthaionlinecampaign.com/droplead/home4u.html
- แอดไลน์ @cimbhomeloan https://lin.ee/AEA6gVV
เงื่อนไขสินเชื่อบ้าน ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย
- กู้เท่าที่จำเป็นและผ่อนชำระคืนไหว
- อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 6.17% – 6.29% โดยคำนวณจากวงเงินกู้ 2 ล้านบาท ระยะเวลากู้ 15 ปี
- อ้างอิง MRR = 9.25% ต่อปี ประกาศ ณ วันที่ 4 ตุลาคม 2566 ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยลอยตัวสามารถเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้
หมายเหตุ
- วงเงินอนุมัติเป็นไปตามหลักเกณฑ์การพิจารณาสินเชื่อของทางธนาคาร
- อัตราดอกเบี้ยและ ข้อกำหนดเงื่อนไขเป็นไปตามธนาคารประกาศกำหนด
- ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม CIMB Thai Care Center โทร. 02 626 7777