การจะเป็นเจ้าของบ้านสักหลังหนึ่ง หรือคอนโดมิเนียมสักห้องหนึ่งนั้น จะต้องมีค่าใช้จ่ายต่างๆ เป็นจำนวนมาก หลายคนจึงเลือกกู้สินเชื่อบ้านมาเป็นตัวช่วย แต่สำหรับบางคนที่มีคู่ชีวิต และต้องการเป็นเจ้าของสินทรัพย์ร่วมกัน ได้ ช่วยเหลือกัน การเลือกใช้สินเชื่อบ้านแบบกู้ร่วม ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่อาจตอบโจทย์
สำหรับคู่รัก LGBTQ+ ที่อาจมีความกังวลว่า ตัวเองและคู่รักจะสามารถ ขอสินเชื่อบ้าน หรือกู้ซื้อบ้านร่วมกันได้ หรือไม่ แล้วถ้าต้องการกู้บ้านร่วมกัน ต้องเตรียมตัวอย่างไร? ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง? บทความนี้มีคำตอบ
ทำความเข้าใจกับการกู้ร่วม
การกู้สินเชื่อบ้านร่วมกัน หรือที่มักจะเรียกกันสั้นๆ ว่า “กู้ร่วม” คือการที่บุคคล 2 คน ยื่นเอกสารเพื่อเป็นเจ้าของ สินทรัพย์ชิ้นเดียวกัน โดยในทั่วไปนั้น ธนาคารจะกำหนดให้ผู้ที่กู้ร่วมได้จะต้องเป็นบิดา/มารดา, พี่/น้อง, สามี/ภรรยา หรือ ญาติ เพียงเท่านั้น และมีเงื่อนไขว่าจะสามารถกู้ร่วมกันได้ไม่เกิน 3 คน
ข้อดีของการกู้ร่วม คือ การกู้ร่วมช่วยเพิ่มโอกาสให้คุณสามารถกู้สินเชื่อบ้านได้ในวงเงินที่สูงขึ้นมากกว่าการกู้คนเดียว เพราะธนาคารจะนำรายได้ของผู้กู้ร่วมมารวมกันแล้วพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ จึงทำให้สามารถกู้ในวงเงินที่สูงขึ้น และเป็นจำนวนเงินที่น่าพึงพอใจมากขึ้นสำหรับคนที่กู้คนเดียวแล้วไม่ได้วงเงินตามที่คาดหวัง นอกจากนี้การขอสินเชื่อบ้านแบบกู้ร่วม ยังช่วยเพิ่มความสบายใจเพราะมีอีกคนช่วยผ่อนชำระ ไม่ต้องแบกรับภาระหนี้บ้านคนเดียวอีกด้วย
แม้ว่าปัจจุบันกฎหมายยังไม่อนุญาตให้คู่รัก LGBTQ+ จดทะเบียนสมรสกันได้ แต่ธนาคารและสถาบันการเงินหลายแห่งเข้าใจถึงความต้องการของผู้กู้ที่มีความหลากหลาย จึงอนุมัติให้ คู่รักชาว LGBTQ+ สามารถทำธุรกรรมอย่างการกู้สินเชื่อบ้านร่วมกันได้ โดยเตรียมหลักฐานและเอกสารตามที่ทางธนาคารกำหนด แล้วดำเนินการตามขั้นตอนขอสินเชื่อบ้านได้เลย
การเตรียมตัวเพื่อยื่นขอกู้สินเชื่อร่วมกัน
1. เตรียมเอกสารสำหรับขอสินเชื่อบ้านสำหรับคู่รัก LGBTQ+
หากคู่รัก LGBTQ+ คู่ไหนที่กำลังวางแผนจะยื่นขอกู้ร่วม ขอแนะนำให้จัดเตรียมเอกสารดังต่อไปนี้
- หนังสือรับรองรายได้
- สลิปเงินเดือนย้อนหลัง 6 เดือน
- สมุดบัญชีเงินเดือนย้อนหลัง 6 เดือน
เอกสารสำหรับคู่รัก LGBTQ+ ที่ต้องทำการแจ้งรายละเอียดให้กับทางธนาคารเพิ่มเติม ได้แก่
- สมุดบัญชีที่เปิดร่วมกัน
- เอกสารรับรองการอยู่ร่วมกัน
- ทะเบียนบ้านที่มีชื่อของผู้กู้ร่วมทั้งสองคน
- รูปถ่ายงานมงคลสมรส (ถ้ามี)
- รูปภาพที่เป็นหลักฐานยืนยันได้ว่าเป็นคู่รักกันจริง ๆ
- เอกสารในการกู้ซื้อทรัพย์สินอื่นร่วมกัน เช่น รถยนต์ (ถ้ามี)
- เอกสารยืนยันการทำธุรกิจร่วมกัน (ถ้ามี)
- ผู้กู้ร่วมจะต้องลงชื่อในใบสมัครสินเชื่อบ้านว่ามีความสัมพันธ์เป็นคู่รักกับผู้กู้หลัก
2. เตรียมจัดการบัญชีให้พร้อม
เพราะบ้านเป็นสินทรัพย์ขนาดใหญ่ที่มีราคาสูง ทำให้ต้องขอสินเชื่อเป็นเงินจำนวนมาก ทางธนาคารจึงจำเป็นต้องตรวจสอบสถานภาพทางการเงิน รวมทั้งประวัติการใช้จ่ายต่างๆ ของผู้กู้หลักและผู้กู้ร่วม เพื่อพิจารณาว่าจะสามารถผ่อนชำระหนี้สินเชื่อบ้านได้ไหว
ซึ่งธนาคารจะพิจารณาจากประวัติใน เครดิตบูโร (Credit Bureau) รวมทั้งความเคลื่อนไหวในบัญชีเงินฝากของผู้ขอกู้สินเชื่อบ้าน ดังนั้น คุณจึงควรวางแผนการใช้เงินให้ดี และจัดการเคลียร์หนี้ที่มีให้เรียบร้อย ไม่ว่าจะเป็น หนี้บัตรเครดิต, สินเชื่อบุคคล ฯลฯ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในภายหลังด้วย
กรณีที่แยกทางกัน ต้องทำอย่างไรกับการกู้ร่วม?
อีกประการหนึ่งที่หลายๆ คนมักจะกังวลก็คือ เมื่อคู่รัก LGBTQ+ ที่กู้สินเชื่อบ้านร่วมกัน แต่ในวันหนึ่งต้องการแยกทางกัน ก็สามารถจัดการกับสินเชื่อบ้านกู้ร่วมได้ตามกรณีต่อไปนี้
1. กรณีที่ไม่ต้องการครอบครองสินทรัพย์ต่อแล้ว
ในกรณีที่ไม่ต้องการผ่อนต่อทั้งคู่ สามารถขายต่อสินทรัพย์ โดยให้ผู้กู้หลักและผู้กู้ร่วมเซ็นยินยอมเพื่อเป็นหลักฐาน เมื่อส่งต่อสินทรัพย์แล้วก็ถือว่าเป็นอันเสร็จสิ้น
2. กรณีที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผ่อนต่อคนเดียว
กรณีที่คู่รัก LGBTQ+ แยกทางกัน แต่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งยังต้องการเป็นเจ้าของสินทรัพย์นี้อยู่ ก็จะต้องให้ผู้กู้อีกฝ่ายทำการเซ็นยินยอมเพื่อส่งมอบกรรมสิทธิ์ให้เป็นของคนคนเดียว
แต่ผู้ที่ต้องการผ่อนบ้านต่อจะต้องผ่านกระบวนการประเมินจากทางธนาคารอีกครั้ง ว่าสามารถรับภาระผ่อนบ้านคนเดียวได้หรือไม่ หากผ่านการประเมินจากธนาคารก็จะได้สิทธิในการผ่อนบ้านต่อคนเดียว และได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์บ้านแต่เพียงผู้เดียวเมื่อผ่อนชำระจนครบ แต่ในกรณีที่ทางธนาคารประเมินว่าไม่ผ่าน ก็จะต้อง รีไฟแนนซ์บ้าน แล้วเปลี่ยนผู้กู้ร่วมคนใหม่ โดยเลือกเป็นคนในครอบครัว หรือญาติเท่านั้น
3. กรณีที่ผ่อนต่อคนเดียวแต่กรรมสิทธิ์ยังเป็นของทั้ง 2 คน
ในกรณีที่คู่รัก LGBTQ+ แยกทางกัน แต่อีกฝ่ายหนึ่งยังไม่ได้ยกเลิกกรรมสิทธิ์ แล้วอีกฝ่ายหนึ่งทำการผ่อนต่อไปจนครบตามกำหนดสัญญา กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นก็จะยังเป็นทั้งของ 2 คน หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งต้องการเป็นเจ้าของสินทรัพย์เพียงฝ่ายเดียว ก็จะต้องไปทำการฟ้องร้องเพื่อหาข้อยุติกันในภายหลัง
แนะนำ สินเชื่อบ้าน “มาคู่ กู้ง่าย” ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย
หากคุณกำลังมองหาธนาคารที่มีบริการกู้ร่วมสินเชื่อบ้าน สำหรับคู่รัก LGBTQ+ เราขอแนะนำ “บริการสินเชื่อ มาคู่ กู้ง่าย” ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ยิ่งมาเป็นคู่ ยิ่งคุ้มมากกว่าเดิม ด้วยอัตราดอกเบี้ยคงที่ปีแรก 2.89% เป็นอีกหนึ่งบริการสินเชื่อที่ช่วยสานฝันให้คู่รัก LGBTQ+ ได้เป็นเจ้าของบ้าน หรือคอนโดมิเนียมในฝันได้กับสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยผ่อนสบาย
คุณสมบัติผู้ขอกู้ร่วมสินเชื่อบ้าน ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย
- บุคคลสัญชาติไทย ที่อาศัยในประเทศไทยเท่านั้น
- พนักงานประจำ : อายุ 21 - 62 ปี (เมื่อรวมระยะเวลาผ่อนสินเชื่อแล้วไม่เกิน 70 ปี)
- ผู้ประกอบธุรกิจส่วนตัว : อายุ 25 – 62 ปี (เมื่อนับรวมระยะเวลาการผ่อนชำระแล้วต้องไม่เกิน 70 ปี*)
- มีประวัติการใช้บริการสินเชื่อมาไม่ต่ำกว่า 2 ปี
*กรณีผู้กู้ที่มีอายุ 45 – 62 ปี เมื่อนับรวมระยะเวลาผ่อนชำระแล้วต้องไม่เกิน 65 ปี
- พนักงานประจำ/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ อายุงานมากกว่า 6 เดือน* หรือเทียบเท่า
- พนักงานระดับหัวหน้างาน/ผู้บริหาร/ข้าราชการสัญญาจ้าง อายุงานมากกว่า 1 ปี* หรือเทียบเท่า
- เจ้าของกิจการ อายุงานมากกว่า ปี 2 หรือเทียบเท่า
สำหรับคู่รัก LGBTQ+ ที่มีแพลนจะซื้อบ้านหลังใหม่เพื่อเริ่มต้นใช้ชีวิตคู่ด้วยกัน และกำลังมองหาสินเชื่อบ้าน ดอกเบี้ยต่ำ ที่มีความหลากหลายตรงความต้องการของทุกคน เราขอแนะนำ สินเชื่อบ้าน ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย สินเชื่อบ้าน สำหรับคู่รักเพศเดียวกัน สามารถกู้ร่วมกัน โดยให้ถือกรรมสิทธิ์ในหลักประกันร่วมกัน กู้ได้ทั้งบ้านใหม่ บ้านมือสอง รีไฟแนนซ์บ้าน และ สินเชื่ออเนกประสงค์
สมัครสินเชื่อบ้าน ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ผ่านช่องทางออนไลน์ ได้ 2 ช่องทาง
- เว็บไซต์ https://www.cimbthaionlinecampaign.com/droplead/home4u.html
- ไลน์ @cimbhomeloan https://lin.ee/AEA6gVV
เงื่อนไขสินเชื่อมีหลักประกัน ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย
- กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว
- สินเชื่อบ้าน Home Loan 4U อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 6.17%-6.29%
- สินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้าน อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 6.09%-6.35%
- สินเชื่อบ้านอเนกประสงค์ อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 6.77%-6.82%
- โดยคำนวณจากวงเงินกู้ 2 ล้านบาท ระยะเวลากู้ 15 ปี
- อ้างอิง MRR = 9.25% ต่อปี ประกาศ ณ วันที่ 4 ตุลาคม 2566 ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยลอยตัวสามารถเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้
หมายเหตุ
- วงเงินอนุมัติเป็นไปตามหลักเกณฑ์การพิจารณาสินเชื่อของทางธนาคาร
- อัตราดอกเบี้ยและ ข้อกำหนดเงื่อนไขเป็นไปตามธนาคารประกาศกำหนด
- ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม CIMB Thai Care Center โทร. 02 626 7777