ดอกเบี้ยบ้าน ลดหย่อนภาษี

ดอกเบี้ยบ้าน ลดหย่อนภาษีได้เท่าไหร่ ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง?

สำหรับคนที่ตัดสินใจซื้อบ้านในช่วงปีที่ผ่านมา และอยู่ระหว่างเตรียมตัว ยื่นภาษีเงินได้ประจำปี 2566 (ยื่นภาษีต้นปี 2567) และไม่แน่ใจว่าดอกเบี้ยบ้านที่จ่ายไปในปีนี้ จะสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้เท่าไหร่ ต้องใช้เอกสารอะไรเป็นหลักฐานบ้าง เรารวมมาให้ในบทความนี้แล้ว

ดอกเบี้ยบ้าน ลดหย่อนภาษีได้เท่าไหร่?


กรมสรรพากรได้กำหนดให้สามารถนำดอกเบี้ยบ้าน หรือดอกเบี้ยที่เกิดจากการกู้เงินซื้อที่อยู่อาศัย ไม่ว่าจะเป็น ซื้อบ้าน ซื้อคอนโด เช่าซื้ออาคารพร้อมที่ดิน หรือ กู้เงินสร้างบ้านบนที่ดินของตัวเอง การจำนองอาคารที่ซื้อหรือสร้างเป็นหลักประกันการกู้ยืม ฯลฯ มาลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท

เงื่อนไขการใช้ดอกเบี้ยบ้าน ลดหย่อนภาษี


  • ใช้สิทธิลดหย่อนภาษีกับการซื้อที่อยู่อาศัยกี่หลังก็ได้ แต่เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท
  • จะต้องเป็นดอกเบี้ยต้องเกิดจากการกู้เงินจากผู้ประกอบกิจการภายในประเทศที่กรมสรรพากรกำหนด ได้แก่ ธนาคาร บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ สหการณ์ นายจ้างที่มีกองทุนจัดสรรไว้เป็นสวัสดิการ บริษัทประกันชีวิต หรือ บริษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัยเท่านั้น

ขั้นตอนการใช้ดอกเบี้ยบ้าน ลดหย่อนภาษี

คุณสามารถนำตัวเลขดอกเบี้ยบ้านที่ธนาคารหรือสถาบันการเงินระบุไว้ในหนังสือรับรองดอกเบี้ย มากรอกในเอกสารยื่นภาษีเงินได้ประจำปี ในหมวด ค. รายการลดหย่อนและยกวันหลังหักค่าใช้จ่าย ข้อที่ 11.ดอกเบี้ยเงินกู้ยืม เพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารอยู่อาศัย

กู้ร่วมซื้อบ้าน ใช้ดอกเบี้ยบ้าน ลดหย่อนภาษี ได้ไหม?


สำหรับคนที่ซื้อบ้านหรือที่อยู่อาศัยแบบกู้ร่วม ก็สามารถนำดอกเบี้ยบ้านไปลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาทต่อบ้านหนึ่งหลัง และดอกเบี้ยบ้านที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้จะถูกหารตามจำนวนผู้ร่วมกู้ กล่าวคือ หากบ้านหลังดังกล่าวมีผู้กู้ร่วมทั้งหมด 2 คน จ่ายดอกเบี้ยบ้านตลอดปีทั้งหมด 150,000 บาท แต่ละคนจะสามารถนำดอกเบี้ยบ้านไปลดหย่อนภาษีได้คนละ 50,000 บาท เป็นต้น

สามี-ภรรยา กับการใช้สิทธิลดหย่อนภาษี ดอกเบี้ยบ้าน


สำหรับคู่สามี-ภรรยา ที่ต้องการใช้ดอกเบี้ยบ้าน ลดหย่อนภาษี กรมสรรพากรกำหนดเงื่อนไขเบื้องต้นไว้ว่า จะต้องเป็นสามี-ภรรยาที่จดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น โดยมีความแตกต่างของรายละเอียดอื่นๆ ดังต่อไปนี้

1. กรณีกู้ซื้อบ้านร่วมกัน


1.1. สามีหรือภรรยา ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเป็นผู้มีเงินได้ฝ่ายเดียว ยื่นภาษีร่วมกัน


กรณีที่สามีหรือภรรยาเป็นผู้มีเงินได้เพียงฝ่ายเดียว (ยื่นแบบแสดงรายได้และเสียภาษีร่วมกัน) และซื้อบ้านแบบกู้ร่วมกัน ฝ่ายที่มีเงินได้เต็มจำนวนจะสามารถใช้ดอกเบี้ยบ้านลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท

1.2. สามีหรือภรรยา เป็นผู้มีรายได้ทั้ง 2 ฝ่าย ยื่นภาษีร่วมกัน


ในกรณีที่สามีหรือภรรยาเป็นผู้มีเงินได้ทั้งสองฝ่าย และยื่นแบบแสดงรายได้ประจำปีและเสียภาษีร่วมกัน และซื้อบ้านแบบกู้ร่วมกัน จะสามารถใช้ดอกเบี้ยบ้านลดหย่อนภาษีได้เหมือนกรณีกู้ร่วมทั่วไป คือ สิทธิลดหย่อนภาษีจะถูกหารตามจำนวนผู้ร่วมกู้ และสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่รวมกันแล้วไม่เกิน 100,000 บาทต่อบ้านหนึ่งหลัง

1.3. สามีหรือภรรยา เป็นผู้มีรายได้ทั้ง 2 ฝ่าย แยกยื่นภาษี


ในกรณีที่สามีหรือภรรยาเป็นผู้มีเงินได้ทั้งสองฝ่าย มีการกู้ซื้อบ้านร่วมกัน แต่ยื่นภาษีและเสียภาษีแยกกัน จะสามารถใช้ดอกเบี้ยบ้านลดหย่อนภาษีได้เหมือนกรณีกู้ร่วมทั่วไป คือ ลดหย่อนภาษีได้คนละครึ่งตามที่จ่ายจริง แต่รวมกันแล้วไม่เกิน 100,000 บาทต่อบ้านหนึ่งหลัง

2. กรณีสามี-ภรรยา ต่างคนต่างกู้


2.1 สามี-ภรรยา ต่างคนต่างกู้ แยกกันยื่นภาษี จะได้รับการลดหย่อนภาษีตามที่จ่ายจริงของแต่ละคน คนละไม่เกิน 100,000 บาท

2.2 สามี-ภรรยา กรณีต่างคนต่างกู้ แต่ยื่นภาษีร่วมกัน ใช้ดอกเบี้ยบ้านลดหย่อนภาษีได้ตามจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท และจะได้รับการยกเว้นภาษีจากดอกเบี้ยบ้านที่จ่ายของคู่สมรสมาลดหย่อนภาษีได้อีกตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท รวมแล้วสามารถลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 200,000 บาท

ดอกเบี้ยบ้าน ลดหย่อนภาษี ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง?

สำหรับคนที่ต้องการจะใช้ดอกเบี้ยบ้านลดหย่อนภาษี กรมสรรพากรกำหนดให้ต้องใช้ เอกสารรับรองการจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ยืม ที่เจ้าหนี้ออกให้ หรือ หนังสือรับรองดอกเบี้ยบ้าน เป็นหลักฐานในการลดหย่อนภาษี (ดาวน์โหลดเอกสาร ลย.02 ได้ที่ https://www.rd.go.th)

หนังสือรับรองดอกเบี้ยบ้าน ขอได้จากที่ไหน?


หนังสือรับรองดอกเบี้ยบ้าน คือ เอกสารที่สรุปข้อมูลการผ่อนชำระสินเชื่อบ้านในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา ในเอกสารจะระบุจำนวนเงินที่ผ่อนจ่ายค่าบ้านไปตลอดปีว่า ผ่อนบ้านไปเท่าไหร่ แบ่งเป็นเงินต้นกี่บาท ดอกเบี้ยบ้านกี่บาท เหลือยอดหนี้บ้านทั้งหมดเท่าไหร่ เป็นต้น

คุณสามารถขอหนังสือรับรองดอกเบี้ยบ้านได้จากธนาคารหรือสถาบันการเงินที่คุณทำการขอสินเชื่อกู้ซื้อบ้าน แต่สำหรับคนที่ทำสัญญากู้ซื้อบ้านตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 ผู้มีเงินได้ต้องแจ้งความประสงค์ที่จะใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ต่อธนาคาร เพื่อให้ธนาคารนำส่งและเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับดอกเบี้ยเงินกู้ยืม และข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องตามสัญญากู้ยืมเงินต่อกรมสรรพากร เพื่อประโยชน์ในการใช้สิทธิขอหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กรมสรรพากรกำหนด

แม้ว่าธนาคารหรือสถาบันการเงินจะเป็นฝ่ายส่งรายละเอียดดอกเบี้ยเงินกู้ซื้อบ้านให้กับกรมสรรพากรโดยตรงแล้ว แต่เราแนะนำให้คุณเก็บเอกสารหนังสือรับรองดอกเบี้ยบ้านไว้อีกทางหนึ่ง เพื่อใช้เป็นหลักฐานในกรณีที่กรมสรรพากรขอดูหลักฐานเพิ่มเติมนั่นเอง

ขอหนังสือรับรองดอกเบี้ยบ้าน ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ผ่านแอป CIMB THAI


หากคุณเป็นลูกค้าสินเชื่อบ้าน ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย สามารถ ขอหนังสือรับรองดอกเบี้ยบ้านประจำปี 2566ผ่านแอป CIMB THAI ตามขั้นตอนขั้นตอนต่อไปนี้

  • ขั้นตอนที่ 1 : เมื่อเข้าสู่แอป CIMB THAI กดเลือกเมนู "+"
  • ขั้นตอนที่ 2 : เลือกเมนู “สินเชื่อ” ไปหน้าบริการทั้งหมด
  • ขั้นตอนที่ 3 : เลือกเมนู “สินเชื่อบ้าน Home Loan 4 U” ในหน้ารายการสินเชื่อ
  • ขั้นตอนที่ 4 : เลือกเมนูอื่นๆ ตรงมุมขวาของหน้าสินเชื่อบ้าน Home Loan 4 U
  • ขั้นตอนที่ 5 : เลือกเมนู “ขอหนังสือรับรองดอกเบี้ยบ้าน”
  • ขั้นตอนที่ 6 : ตรวจสอบอีเมลสำหรับ รับหนังสือรับรองดอกเบี้ยบ้าน (กรณีต้องการเปลี่ยนอีเมลกรุณาเลือกเมนู อื่นๆ และกดเลือกเมนู อีเมล)
  • ขั้นตอนที่ 7 : เลือกเมนู “ขอหนังสือรับรองดอกเบี้ยบ้าน”
  • ขั้นตอนที่ 8 : ระบบจะแสดงข้อความ “ขอหนังสือรับรองดอกเบี้ยบ้านสำเร็จ” กดเลือกเมนู “เสร็จสิ้น”
  • ขั้นตอนที่ 9 : ระบบจะแจ้งเตือนในแอปว่า “ได้รับคำขอเอกสารเรียบร้อยแล้ว”

จากนั้น ธนาคารจะจัดส่งหนังสือรับรองดอกเบี้ยบ้านให้ท่านทาง E-mail โดยคุณสามารถขอหนังสือรับรองดอกเบี้ยบ้านได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง และสำหรับลูกค้าที่ต้องการขอหนังสือรับรองดอกเบี้ยบ้าน เพื่อประกอบการยื่นภาษี ธนาคารจะจัดส่งหนังสือรับรองดอกเบี้ยบ้านให้ท่านทางอีเมล ตั้งแต่วันที่ 25 มกราคม 2567 เป็นต้นไป

ทั้งหมดนี้ คือรายละเอียดของการใช้ดอกเบี้ยบ้านลดหย่อนภาษีตามที่กรมสรรพากรกำหนดไว้ และสำหรับใครที่อยากเช็กสิทธิ์ลดหย่อนภาษี 2566 เราได้ทำการรวมค่าลดหย่อนทั้งหมดไว้ที่บทความ ค่าลดหย่อนภาษี 2566 เพื่อให้คุณได้เตรียมคำนวณภาษีและวางแผนภาษีก่อนทีจะเริ่มต้นยื่นภาษีได้ในปีหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ

หากคุณเป็นหนึ่งคนที่กำลังวางแผนซื้อบ้านและกำลังมองหาสินเชื่อบ้าน ดอกเบี้ยต่ำ ไม่ว่าจะเป็น สินเชื่อบ้านใหม่ หรือสินเชื่อบ้านมือสอง เราขอแนะนำ สินเชื่อบ้าน ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย สินเชื่อบ้าน สำหรับพนักงานประจำที่มีรายได้ 30,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป พร้อมข้อเสนอสุดพิเศษ อาทิ ฟรีค่าประเมินราคาหลักทรัพย์และค่าดำเนินการสินเชื่อ พร้อมให้วงเงินกู้สูงสุดไม่เกิน 10 ล้านบาท พร้อมเงื่อนไขการผ่อนชำระที่เข้าใจง่าย

สมัครสินเชื่อบ้าน ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ได้ 2 ช่องทาง


เงื่อนไขอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้าน

  • กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว
  • อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา อยู่ระหว่าง 6.17% – 6.29% โดยคำนวณจากวงเงินกู้ 2 ล้านบาท ระยะเวลากู้ 15 ปี
  • อ้างอิง MRR = 9.25% ต่อปี ประกาศ ณ วันที่ 4 ตุลาคม 2566
  • ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยลอยตัวสามารถเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้

หมายเหตุ

  • วงเงินอนุมัติเป็นไปตามหลักเกณฑ์การพิจารณาสินเชื่อของทางธนาคาร
  • อัตราดอกเบี้ยและ ข้อกำหนดเงื่อนไขเป็นไปตามธนาคารประกาศกำหนด
  • ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม CIMB Thai Care Center โทร. 02 626 7777

Share :