5 เช็กลิสต์ วางแผนการเงิน สำหรับคนเริ่มสร้างครอบครัว

5 เช็กลิสต์ วางแผนการเงิน สำหรับคนเริ่มสร้างครอบครัว

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการสร้างครอบครัวเป็นความฝันของใครหลายๆ คน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องแต่งงานหรือมีลูก บ้างก็วางแผนแต่งงานหลังเรียนจบ บ้างก็ขอทำงานเก็บเงินสักพัก บ้างก็อยากมีรถมีบ้านเป็นของตัวเองก่อน จากสถิติการแต่งงานของคนในประเทศไทย พบว่า คนไทยส่วนใหญ่จะแต่งงานโดยอายุเฉลี่ยประมาณ 26.7 ปี (อ้างอิง https://mover.in.th) ผลสำรวจพบว่า วัยที่เหมาะจะแต่งงานอยู่ในช่วงอายุ 28-32 ปี

ปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อชีวิตคู่ที่ยืนยาว คือ ความมั่นคงทางการเงิน หากคิดจะมีครอบครัวเมื่อไหร่ ขอให้คิดวางแผนสร้างความมั่นคงทางการเงินควบคู่กันไปด้วย และหากคุณเป็นอีกหนึ่งคนที่กำลังวางแผนสร้างครอบครัวในอนาคต แต่ไม่รู้ว่าคนมีครอบครัวต้องวางแผนด้านใดบ้าง เราได้รวม 5 เช็กลิสต์ วางแผนการเงินสำหรับคนเริ่มสร้างครอบครัว ไว้ในบทความนี้แล้ว

5 แผนการเงินสำคัญ สำหรับวัยสร้างครอบครัว


1. เงินกองกลาง


ควรให้ความสำคัญกับเงินกองกลางของครอบครัว เพราะเป็นเงินสำหรับใช้จ่ายในแต่ละวันของทุกๆ คน เช่น ค่าผ่อนบ้าน ค่าผ่อนรถ ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าสาธารณูปโภคพื้นฐาน รวมถึง ค่าใช้จ่ายจิปาถะอื่นๆ เราแนะนำให้คุณทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายเพื่อประเมินค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน เพื่อกำหนดว่าจะแบ่งการออกค่าใช้จ่ายกันอย่างไร

ไม่ว่าจะเป็นสูตรหารเท่า คือ แบ่งรายได้ของแต่ละคนเข้ากองกลางเท่าๆ กัน หรือจะใช้สูตรใครรายได้มาก เอาเงินเข้ากองกลางมากหน่อย หรืออาจจะกำหนดเปอร์เซ็นต์จากรายได้หลัก เช่น เก็บ 50% ของรายได้หลักมาไว้ที่เงินกองกลาง ทั้งนี้จะใช้สูตรไหนก็ควรตกลงกันตั้งแต่แรก และอาจจะเปิดบัญชีร่วมขึ้นมาเพื่อรองรับการเก็บเงินส่วนนี้

2. จัดสรรค่าใช้จ่ายส่วนตัว


จัดสรรค่าใช้จ่ายส่วนตัวในแต่ละเดือน หรือค่าใช้จ่ายจำเป็นในชีวิตประจำวัน ที่ไม่ทับซ้อนกับเงินกองกลาง เช่น ค่าอาหารในแต่ละวัน ค่าบัตรเครดิต และค่าใช้จ่ายในการสร้างความสุขให้ตัวเอง เช่น ค่าข้าวของเครื่องใช้ที่อยากได้ ค่ากิจกรรมงานอดิเรก หรือ ค่าท่องเที่ยวกับเพื่อนๆ หากกำหนดชัดเจน จะสามารถช่วยบริหารทั้งเงินกองกลางและเงินส่วนตัวได้ดียิ่งขึ้น

3. เงินสำรองสำหรับใช้จ่ายฉุกเฉิน


กำหนดเงินสำรองสำหรับใช้จ่ายยามฉุกเฉิน เป็นเงินเก็บก้อนสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม และควรทำให้เป็นเงินก้อนที่เก็บเพื่อใช้จ่ายในยามจำเป็นจริงๆ ซึ่งควรมีเงินสำรองสำหรับค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนของครอบครัวอย่างน้อย 3-6 เดือน และต้องเป็นเงินเก็บที่มีสภาพคล่องสูงสามารถเบิกออกมาใช้ง่าย ใช้ได้ทันเวลาที่ต้องการ เพราะเหตุฉุกเฉินอาจจะมาในรูปแบบภาวะเศรษฐกิจ หรือโรคระบาด (COVID-19) เพื่อรองรับความเสี่ยงในการตกงาน ความเสี่ยงเรื่องสุขภาพ รวมถึงค่าใช้จ่ายที่ไม่คาดฝัน เช่น ค่าซ่อมบ้านซ่อมรถ ค่ารักษาพยาบาล หรือหากมีใครคนใดคนหนึ่งตกงาน หรือเจ็บไข้ได้ป่วยกะทันหัน เงินสำรองนี้จะทำให้เราดำเนินชีวิตและประคับประคองครอบครัวต่อไปได้

4. วางแผนค่าใช้จ่ายสำหรับลูก


ค่าใช้จ่ายสำหรับลูก ควรแยกออกมาจากเงินกองกลาง เพื่อเป็นการให้ความสำคัญกับอนาคตของลูก นับว่าเป็นค่าใช้จ่ายก้อนใหญ่อีกก้อนก็ว่าได้ ไม่ว่าจะเป็น ค่าใช้จ่ายด้านการศึกษา ตั้งแต่อนุบาลจนถึงมหาวิทยาลัย ค่าเลี้ยงดูที่เป็นค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ตั้งแต่ค่าอาหาร ค่าขนม ค่าเสื้อผ้า ค่าอุปกรณ์การเรียน หรือแม้แต่ค่าเสริมสร้างพัฒนาการต่างๆ ของลูก เช่น ค่าเรียนพิเศษต่างๆ กิจกรรมของโรงเรียน และรวมถึงค่ารักษาพยาบาล ฯลฯ การวางแผนล่วงหน้าจะช่วยให้สามารถใช้จ่ายได้คล่องตัวขึ้น

5. วางแผนเก็บเงินยามเกษียณ


การวางแผนเกษียณ หรือเก็บเงินเพื่อใช้ยามเกษียณ ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการวางแผนเงินลงทุนของครอบครัวเช่นกัน เพราะเมื่อพ่อแม่เข้าสู่วัยเกษียณ ลูกๆ จะได้ไม่ต้องดูแลค่าใช้จ่ายส่วนนี้ หรือหากพ่อแม่เกษียณแต่ยังมีภาระค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูลูก เงินส่วนนี้ก็จะเข้ามาช่วยได้ วางแผนโดยคิดคำนวณว่าจะใช้ชีวิตหลังเกษียณอย่างไร และจัดสรรเป็นเงินออมควบคู่กับ การวางแผนลงทุน จะเป็นการสร้างรายได้ เพื่อต่อยอดสร้างผลตอบแทน เพื่อเพิ่มความมั่นคงทางการเงินในระยะยาว เพื่อรองรับการเกษียณอายุของตัวเอง

การวางแผนทางการเงิน อยู่ในทุกช่วงเวลาของชีวิตเรา ในวัยเด็ก เรามักจะออมเงินโดยการหยอดกระปุก เมื่อมีงานทำ มีรายได้เป็นของตัวเอง การบริหารจัดการเงินโดยการทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย ก็เป็นการวางแผนทางการเงินที่ดีเช่นกัน ส่วนใครกำลังจะมีครอบครัว ยิ่งต้องคิดวางแผนครั้งใหญ่ วางแผนทางการเงินดี ก็เหมือนเริ่มต้นชีวิตครอบครัวดีไปกว่าครึ่งทางแล้ว

การเริ่มต้นวางแผนทางการเงินที่ดี นอกจากการเก็บออมแล้ว การปลดหนี้หรือการบริหารจัดการหนี้ที่มีอยู่ ก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของการวางแผนทางการเงินที่สามารถทำควบคู่กันไปได้ เมื่อมั่นใจในสุขภาพทางการเงินของตัวเองแล้ว ก็มั่นใจที่จะเริ่มต้นครอบครัวในอนาคตกันได้เลย

สำหรับใครที่สนใจการบริหารจัดการหนี้ที่มีอยู่ หรืออยากปลดหนี้ที่มีด้วย การรวมหนี้เป็นก้อนเดียว เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นสำหรับการสร้างครอบครัว ให้สินเชื่อบุคคลมาเป็นตัวช่วยแบ่งเบาภาระนั้นได้ ขอแนะนำ สินเชื่อบุคคลเพอร์ซันนัลแคช ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย สินเชื่อเงินก้อน ดอกเบี้ยต่ำ สมัครง่ายโดยไม่ต้องมีหลักทรัพย์หรือบุคคลค้ำประกัน แบ่งชำระคืนธนาคารเป็นรายเดือน เดือนละเท่าๆ กัน คิดอัตราดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก ไม่มีค่าดำเนินการขอสินเชื่อ

สมัครสินเชื่อบุคคล เพอร์ซันนัลแคช (Personal Cash) ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ผ่านช่องทางออนไลน์ ได้ 3 ช่องทาง


เงื่อนไขอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบุคคล

  • กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว
  • อัตราดอกเบี้ยอยู่ระหว่าง 9.99% ถึง 25% ต่อปี

หมายเหตุ

  • วงเงินอนุมัติเป็นไปตามหลักเกณฑ์การพิจารณาสินเชื่อของทางธนาคาร
  • อัตราดอกเบี้ยและ ข้อกำหนดเงื่อนไขเป็นไปตามธนาคารประกาศกำหนด
  • รายละเอียดเพิ่มเติมที่ : https://www.cimbthaionlinecampaign.com/personalloan/selfapply.html
  • ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม CIMB Thai Care Center โทร. 02 626 7777

Share :