ยูทูบเบอร์ อินฟลูเอนเซอร์ เสียภาษีอย่างไร

เป็นยูทูบเบอร์ อินฟลูเอนเซอร์ ต้องเสียภาษีเท่าไหร่ ยื่นภาษีอย่างไร?

Social Media ที่มีมากมายหลากหลายในปัจจุบัน ทำให้หลายๆ คนเริ่มผันตัวมาเป็นนักรีวิว ยูทูบเบอร์ หรือ อินฟลูเอนเซอร์กันมากขึ้น และหากคุณเป็นหนึ่งคนที่เป็นอินฟลูเอนเซอร์ที่มีรายได้จากการรับรีวิวสินค้า แต่ไม่แน่ใจว่าต้องเตรียมเอกสารยื่นภาษีอย่างไร เสียภาษีแตกต่างจากอาชีพอื่นๆ หรือไม่ ไขข้อสงสัยของคุณได้ในบทความนี้

ทำความเข้าใจแหล่งรายได้ของยูทูบเบอร์ (Youtuber) , อินฟลูเอนเซอร์ (Influencer)


เราต่างรู้กันดีอยู่แล้วว่า เมื่อมีรายได้ก็ต้องยื่นภาษี แน่นอนว่ารายได้ของเหล่านักรีวิว อินฟลูเอนเซอร์ และยูทูบเบอร์ก็ต้องนำรายได้มายื่นภาษีด้วยเช่นกัน เพราะเป็นอาชีพที่มีรายได้จากหลากหลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็น งานจ้างรีวิวสินค้าหรือบริการ, ส่วนแบ่งค่าโฆษณาจากแพลตฟอร์ม Social Media ต่างๆ เป็นต้น ทำให้มีเกณฑ์การหักค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกัน ดังนั้น คุณจึงจำเป็นที่จะต้องทราบว่ารายได้ของคุณถูกจัดเป็นรายได้ประเภทไหน เพื่อที่คุณจะได้คำนวณภาษีได้อย่างถูกต้อง

สำหรับช่องทางรายได้หลักของยูทูบเบอร์ (Youtuber) , อินฟลูเอนเซอร์ (Influencer) ที่กรมสรรพากรระบุไว้ในคู่มือการยื่นภาษีสำหรับยูทูบเบอร์และอินฟลูเอนเซอร์ ประกอบไปด้วย

  • ส่วนแบ่งค่าโฆษณาจากการนำโฆษณามาวางในช่องยูทูบของตนเอง, รายได้จากจำนวนคนเข้าชมคลิป หรือการทำระบบเมมเบอร์ (Membership) ภายในช่องยูทูบของตัวเอง ฯลฯ
  • รับจ้างรีวิวสินค้าหรือบริการ
  • รับจ้างโชว์ตัวตามงานอีเว้นต์ต่างๆ
  • รายได้จากการขายสินค้า / บริการของตนเอง หรือสิ่งของซื้อมาขายไปต่างๆ

ในกรณีที่คุณเป็นมนุษย์เงินเดือนหรือผู้ที่มีรายได้ประจำ ควบคู่ไปกับการเป็นนักรีวิวหรืออินฟลูเอนเซอร์ หากมีรายได้จากการรีวิวสินค้า โชว์ตัว หรือขายสินค้า ฯลฯ ก็ต้องนำรายได้ทั้งหมดมารวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีด้วยเช่นกัน

ว่าด้วยประเภทรายได้ของยูทูบเบอร์ (Youtuber) , อินฟลูเอนเซอร์ (Influencer)


1. รายได้จากส่วนแบ่งค่าโฆษณา


ไม่ว่าจะเป็น จำนวนคนเข้าชมคลิป หรือ ระบบเมมเบอร์ภายในช่องของตัวเอง ถือเป็นเงินได้ประเภทที่ 8 หรือมาตรา 40(8)

2. รายได้จากการรับจ้างรีวิวสินค้าหรือบริการ แบ่งออกเป็น 2 กรณีคือ


  • อินฟลูเอนเซอร์ที่ทำทุกอย่างคนเดียว ไม่มีออฟฟิศ ไม่มีลูกจ้างหรือค่าใช้จ่ายอื่นๆ ถือเป็นเงินได้ประเภทที่ 2 หรือ มาตรา 40(2) สามารถยื่นแบบแสดงภาษีเงินได้ประจำปี โดยคำนวณหักค่าใช้จ่ายได้ 50% ไม่เกิน 100,000 บาท
  • อินฟลูเอนเซอร์ที่มีรายได้และมีรายจ่ายอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น ลูกจ้าง, ค่าจ้างตากล้อง, ช่างแต่งหน้า ทำผม ค่าสถานที่ในกรณีที่ต้องถ่ายรีวิวสินค้า ฯลฯ ถือเป็นเงินได้ประเภทที่ 8 หรือ มาตรา 40(8) สามารถยื่นแบบแสดงภาษีเงินได้ประจำปี โดยสามารถหักค่าใช้จ่ายได้ตามที่จ่ายจริง และจะต้องใช้หลักฐานค่าใช้จ่ายต่างๆ เพื่อแสดงตอนยื่นภาษีให้ครบด้วย

3. รายได้จากรับจ้างโชว์ตัวตามงานอีเว้นท์ต่างๆ แบ่งออกเป็น 2 กรณีคือ


  • อินฟลูเอนเซอร์ที่ทำทุกอย่างคนเดียว ไม่มีสำนักงาน ไม่มีลูกจ้างหรือค่าใช้จ่ายอื่นๆ ถือเป็นเงินได้ประเภทที่ 2 หรือ มาตรา 40(2) สามารถยื่นแบบแสดงภาษีเงินได้ประจำปี โดยคำนวณหักค่าใช้จ่ายได้ 50% ไม่เกิน 100,000 บาท
  • อินฟลูเอนเซอร์ที่มีรายได้และมีรายจ่ายอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น ลูกจ้าง, ค่าจ้างตากล้อง, ช่างแต่งหน้า ทำผม ค่าสถานที่ในกรณีที่ต้องถ่ายรีวิวสินค้า ฯลฯ ถือเป็นเงินได้ประเภทที่ 8 หรือ มาตรา 40(8) สามารถยื่นแบบแสดงภาษีเงินได้ประจำปี โดยสามารถหักค่าใช้จ่ายได้ตามที่จ่ายจริง และจะต้องมีหลักฐานค่าใช้จ่ายต่างๆ เพื่อแสดงตอนยื่นภาษีให้ครบด้วย

ทั้งนี้ กรมสรรพากรได้กำหนดขอบเขตของการโชว์ตัวที่เข้าข่ายเป็น เงินได้ประเภท 8 ไว้ว่า ต้องอยู่ในลักษณะของ การแสดงของนักแสดงละคร ภาพยนตร์ วิทยุหรือโทรทัศน์ นักร้อง นักดนตรี นักกีฬาอาชีพ หรือนักแสดงเพื่อความบันเทิงอื่นๆ จะสามารถหักค่าใช้จ่ายในอัตราเหมาๆ ได้ดังนี้

(ก) เงินได้ส่วนที่ไม่เกิน 300,000 บาท 60%

(ข) เงินได้ส่วนที่เกิน 300,000 บาท 40%

โดยการหักค่าใช้จ่ายตาม (ก) และ (ข) รวมกันต้องไม่เกิน 600,000 บาท

4. รายได้จากการขายสินค้า / บริการของตนเอง หรือสิ่งของซื้อมาขายไปต่างๆ


ในกรณีที่คุณเป็นอินฟลูเอนเซอร์ที่มีรายได้จากการขายสินค้า (ไม่ว่าจะเป็นสินค้าหรือบริการแบรนด์ตัวเอง หรือสิ่งของที่ซื้อมาขายไป) กรมสรรพากรถือเป็นเงินได้ประเภทที่ 8 หรือ มาตรา 40(8) สามารถยื่นแบบแสดงภาษีเงินได้ประจำปี โดยคำนวณหักค่าใช้จ่ายในอัตราเหมา 60% และต้องมีหลักฐานค่าใช้จ่ายต่างๆ แสดงตอนยื่นภาษีให้ครบด้วย

เป็นอินฟลูเอนเซอร์ มีรายได้หลายทาง คำนวณภาษีอย่างไรดี?


แน่นอนว่าการเป็นอินฟลูเอนเซอร์ย่อมมีรายได้เข้ามามากกว่า 1 ช่องทาง ส่งผลให้การคำนวณภาษีของเหล่าอินฟลูฯ มีความซับซ้อนกว่าพนักงานประจำที่มีรายได้ช่องทางเดียว ซึ่งกรมสรรพากรได้กำหนดการ คำนวณภาษีของนักรีวิว อินฟลูเอนเซอร์ ไว้ 2 วิธี คือ

1. คำนวณภาษีจากเงินได้สุทธิ


“เงินได้ (รายได้ที่ได้รับตลอดทั้งปีภาษี (1 มกราคม – 31 ธันวาคม))– ค่าใช้จ่ายส่วนตัว (100,000 บาท) – ค่าลดหย่อนส่วนตัว (60,000 บาท) = เงินได้สุทธิ (ยกเว้นเงินได้สุทธิ 150,000 บาทแรก) x อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (5%-35%) = ภาษีที่ต้องจ่าย

อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
เงินได้สุทธิตั้งแต่ (บาท) เงินได้สุทธิจำนวนสูงสุดของชั้น อัตราภาษีร้อยละ ภาษีในแต่ละขั้นของเงินได้ ภาษีสะสมสูงสุดของชั้น
0 – 150,000 150,000 5 ยกเว้น 0
เกิน 150,000 – 300,000 150,000 5 7,500 7,500
เกิน 300,000 – 500,000 200,000 10 20,000 27,500
เกิน 500,000 – 750,000 250,000 15 37,500 65,000
เกิน 750,000 – 1,000,000 250,000 20 50,000 115,000
เกิน 1,000,000– 2,000,000 1,000,000 25 250,000 365,000
เกิน 2,000,000– 5,000,000 3,000,000 30 900,000 1,265,000
เกิน 5,000,000 บาทขึ้นไป 35

2. คำนวณภาษีจากเงินได้พึงประเมิน


จำนวนภาษี = เงินได้พึงประเมิน (รายได้ทุกช่องทาง) x 0.5%

  • เงินได้ประเภทที่ 2 – 8 ตั้งแต่ 120,000 บาท
  • กรณีคำนวณภาษีตามวิธีที่ 2 แล้วมีภาษีชำระไม่เกิน 5,000 บาท จะได้รับยกเว้นภาษีจากการคำนวณตามวิธีที่ 2 (แต่ยังต้องเสียภาษีตามวิธีที่ 1)

รู้ได้อย่างไรว่า เราต้องคำนวณภาษีแบบไหน?


สำหรับยูทูบเบอร์หรืออินฟลูเอนเซอร์ที่ยังสับสนอยู่ว่า เราควรเลือกคำนวณภาษีแบบใดถึงจะรู้ว่าเราจ่ายภาษีถูกต้องนั้น คู่มือของกรมสรรพากรระบุไว้ว่า ให้ทำการเปรียบเทียบจำนวนภาษีตามวิธีที่ 1 และ 2 (ที่กล่าวมาข้างต้น) และและเสียภาษีตามวิธีที่คำนวณได้มากกว่า

  • ถ้าเงินได้พึงประเมินไม่เกิน 100,000 บาท ไม่ต้องคำนวณภาษี
  • ถ้าคำนวณแล้วภาษีไม่เกิน 5,000 บาท ได้รับการยกเว้นภาษีวิธีที่ 2

ทั้งหมดนี้คือ วิธีคำนวณภาษีของเหล่านักรีวิว ยูทูบเบอร์ อินฟลูเอนเซอร์ ที่เรานำมาฝาก และหากคุณมีความกังวลใจหลังจากคำนวณภาษี หรือไม่มั่นใจว่าจะสามารถวางแผนทางการเงินทันก่อนถึงเวลาที่ต้องจ่ายภาษีหรือไม่ เราขอแนะนำวงเงินสำรองแบบไม่ใช้บัตร สินเชื่อบุคคล เอ็กซ์ตร้าแคช ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย สินเชื่อเงินสดพร้อมใช้ ที่จะช่วยให้คุณมีเงินสำรองพร้อมใช้ตลอดเวลา พร้อมความสะดวกสบาย เพราะคุณสามารถเบิก-ถอนวงเงินผ่านแอปฯ ได้ตลอด 24 ชั่วโมง คิดดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก และคิดดอกเบี้ยเมื่อทำการเบิกถอนวงเงินเท่านั้น

สินเชื่อบุคคล เอ็กซ์ตร้าแคช (Extra Cash) ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย คือ วงเงินสำรองพร้อมใช้ ดอกเบี้ยต่ำ สำหรับพนักงานประจำ ที่มีเงินเดือน 30,000 บาทขึ้นไป สามารถสมัครสินเชื่อได้ 3 ช่องทาง

เงื่อนไขอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบุคคล

  • กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว
  • อัตราดอกเบี้ยอยู่ระหว่าง 7.3%-25%
  • อัตราดอกเบี้ย CLR ณ. วันที่ 4 ตุลาคม 2566 = 20% ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยลอยตัวสามารถเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้

หมายเหตุ


  • วงเงินอนุมัติเป็นไปตามหลักเกณฑ์การพิจารณาสินเชื่อของทางธนาคาร
  • อัตราดอกเบี้ยและ ข้อกำหนดเงื่อนไขเป็นไปตามธนาคารประกาศกำหนด
  • รายละเอียดเพิ่มเติมที่ : https://www.cimbthaionlinecampaign.com/personalloan/selfapply.html
  • ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม CIMB Thai Care Center โทร. 02 626 7777

Share :