สำหรับผู้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ประจำปี 2566 (ภ.ง.ด 90 และ ภ.ง.ด 91) และต้องจ่ายภาษีเพิ่ม คุณอาจจะยังไม่ทราบว่า ผู้เสียภาษีสามารถทำการผ่อนชำระภาษีได้ โดยไม่ต้องเสียดอกเบี้ยหรือค่าธรรมเนียมเพิ่ม โดยมีกรมสรรพากรได้กำหนด เงื่อนไขการผ่อนจ่ายภาษี ไว้ดังนี้
- ภาษีที่ผ่อนชำระต้องมีจำนวนตั้งแต่ 3,000 บาทขึ้นไป (อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://rd.go.th/60309.html )
- สามารถแบ่งชำระภาษีได้ 3 งวด เท่าๆ กัน ไม่ต้องเสียดอกเบี้ยหรือค่าธรรมเนียม
- ผ่อนภาษีได้ทั้งการยื่นภาษีออนไลน์ผ่านทางเว็บไซต์กรมสรรพากร www.rd.go.th และสำนักงานสรรพากรพื้นที่ (ยื่นภาษีแบบกระดาษ)
ว่าด้วย การยื่นภาษี และการผ่อนจ่ายภาษี
ไม่ว่าคุณจะยื่นภาษีออนไลน์ หรือเลือกยื่นภาษีแบบกระดาษที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่ หากภาษีที่คุณต้องจ่ายเพิ่มตรงตามเงื่อนไขที่กรมสรรพากรกำหนดไว้ คุณก็สามารถรับสิทธิผ่อนชำระภาษีได้ โดยมีขั้นตอนต่อไปนี้
1. การยื่นภาษีแบบกระดาษ ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่
คุณสามารถแจ้งความประสงค์ขอผ่อนภาษีได้กับเจ้าหน้าที่สรรพากรพื้นที่ โดยมีเอกสารที่ต้องใช้คือ บ.ช. 35 จำนวน 1 ชุด (3 แผ่น) โดยมีการกำหนดงวดผ่อนจ่ายดังต่อไปนี้
- ชำระพร้อมยื่นแบบแสดงรายการภายในวันที่ 30 กันยายน หรือวันที่ 31 มีนาคม
- ชำระภายใน 1 เดือนนับแต่วันที่ต้องชำระงวดที่ 1
- ชำระภายใน 1 เดือนนับแต่วันที่ต้องชำระงวดที่ 2
2. การยื่นภาษีออนไลน์
ในกรณีที่คุณยื่นภาษีออนไลน์ผ่านทางเว็บไซต์ของกรมสรรพากร คุณสามารถเลือกชำระภาษีแบบผ่อนจ่ายได้ด้วยตัวเอง โดยเมื่อคุณทำการยืนยันแบบแสดงรายการภาษีเรียบร้อยแล้ว ก่อนถึงขั้นตอนจ่ายภาษี ระบบของกรมสรรพากรจะมีข้อความแจ้งว่า “ต้องการผ่อนจ่ายภาษีหรือไม่?” หากคุณต้องการผ่อนภาษี ก็ให้คลิกที่ข้อความดังกล่าวได้เลย แต่หากคุณไม่อยากผ่อนจ่ายภาษี ให้เลือกคลิกที่ “ไม่ประสงค์ผ่อนชำระภาษี”
งวดผ่อนจ่ายภาษี สำหรับคนยื่นภาษีออนไลน์- งวดที่ 1 : ชำระพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษี
- งวดที่ 2 : ชำระภาษี 1 เดือนหลังจากจ่ายภาษีงวดที่ 1
- งวดที่ 3 : ชำระภาษี 1 เดือนหลังจากจ่ายภาษีงวดที่ 2
คุณทำการยื่นภาษีออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ของกรมสรรพากร วันที่ 8 เมษายน (วันสุดท้ายของการยื่นภาษีออนไลน์) และได้เลือกผ่อนชำระภาษี
- งวดที่ 1 : ชำระพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษี
- งวดที่ 2 : ชำระภาษีภายในวันที่ 8 พฤษภาคม
- งวดที่ 3 : ชำระภาษีภายในวันที่ 8 มิถุนายน
จ่ายภาษีผ่านช่องทางไหนได้บ้าง
1. จ่ายภาษีผ่านระบบ E-Payment
จ่ายภาษีผ่านระบบ E-Payment โดยคุณสามารถเลือกจ่ายภาษีผ่านบัตรเครดิต หรือ บัตรเดบิต จากระบบของสรรพากรที่เชื่อมต่อกับธนาคารได้ด้วยตัวเอง
2. จ่ายภาษีผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิส (Counter Service)ไม่ว่าจะเป็น บริการเคาน์เตอร์เซอร์วิสของธนาคาร และจุดชำระเงินต่างๆ ที่เข้าร่วมโครงการ เช่น ไปรษณีย์ไทย, 7-Eleven, Tesco Lotus, Big C, TrueMoney, CenPay เป็นต้น
3. จ่ายภาษีผ่านช่องทางอื่นเพียงนำข้อมูลจาก Pay In Slip ที่ระบุเลขประจำตัวประชาชน หรือเลขประจำตัวผู้เสียภาษี 13 หลัก และรหัสควบคุม 15 หลัก พร้อมกับจำนวนภาษีที่ต้องเสีย ไปจ่ายผ่านช่องทางต่างๆ ที่คุณสะดวก ไม่ว่าจะเป็น Internet Banking , Mobile Banking ,Phone Banking ,ตู้ ATM และ เครื่องรับฝากเงินสดของธนาคารที่เข้าร่วมโครงการ
4. จ่ายภาษีที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่ในกรณีที่คุณยื่นภาษีแบบกระดาษที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่ คุณสามารถทำการจ่ายภาษีที่สำนักงานสรรพากรได้เลย โดยปัจจุบัน สำนักงานสรรพากรพื้นที่รองรับการชำระภาษีทั้งแบบเงินสด, จ่ายผ่านบัตรเครดิต, บัตรเดบิต, Tax Smart Card รวมถึง Internet Banking , Mobile Banking ,Phone Banking ฯลฯ
หมายเหตุหากคุณเลือกผ่อนจ่ายภาษีที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่ในงวดแรก การผ่อนจ่ายภาษีอีก 2 งวดถัดมา คุณจะต้องเดินทางมาชำระภาษีที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่เท่านั้น ไม่สามารถเปลี่ยนช่องทางการชำระภาษีในภายหลังได้
การผ่อนจ่ายภาษี กับเรื่องต้องระวัง
เนื่องจากปัจจุบันกรมสรรพากรมีบริการผ่อนจ่ายภาษีหลากหลายช่องทางมากขึ้น เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เสียภาษีทุกท่าน แต่การผ่อนจ่ายภาษียังมีเรื่องที่คุณต้องทำความเข้าใจเพิ่มเติม อาทิ
1. หากเลือกผ่อนจ่ายภาษี ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ภายหลังหากคุณเลือกจ่ายภาษีแบบผ่อน 0% 3 เดือนกับระบบของกรมสรรพากร และดำเนินการผ่อนชำระภาษีในงวดแรกเรียบร้อยแล้ว คุณจะต้องผ่อนจ่ายภาษีจนครบทุกงวด ไม่สามารถเปลี่ยนมาจ่ายภาษีแบบครบเต็มจำนวนได้
ทั้งนี้ คุณสามารถเปลี่ยนแปลงการจ่ายภาษี (ไม่ว่าจะ เปลี่ยนจากผ่อนจ่ายเป็นชำระเต็มจำนวน หรือ เปลี่ยนจากจ่ายภาษีเต็มจำนวนเป็นผ่อนจ่าย) ได้เฉพาะในกรณีที่คุณยังไม่ได้ทำการชำระภาษีให้เรียบร้อยเท่านั้น และต้องทำการยื่นภาษีใหม่ตั้งแต่ต้นอีกครั้ง
2. ตัดสินใจเลือกช่องทางจ่ายภาษีให้ดีเราแนะนำให้คุณเลือกช่องทางการผ่อนจ่ายภาษีที่สะดวกกับคุณที่สุด ณ ตอนที่จ่ายภาษีในงวดแรก และควรคำนึงถึงความสะดวกในการจ่ายภาษีในงวดถัดๆ ไปด้วย เพราะหากคุณเลือกที่จะผ่อนจ่ายภาษีในงวดที่ 1 ผ่านสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาแล้ว คุณจะต้องเดินทางมาจ่ายภาษีงวดที่เหลือ (งวดที่ 2 และ 3) ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่ด้วยเช่นกัน ไม่สามารถเปลี่ยนไปจ่ายภาษีผ่านช่องทางอื่นได้
3. หากไม่อยากโดนค่าปรับ ต้องผ่อนจ่ายภาษีตรงเวลาไม่ใช่แค่การยื่นภาษีที่ต้องยื่นภายในระยะเวลาที่กำหนดเท่านั้น การผ่อนจ่ายภาษีก็ต้องตรงเวลาด้วยเช่นกัน จริงอยู่ที่กรมสรรพากรอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เสียภาษีด้วยการระบบผ่อนจ่ายภาษี 3 งวด โดยไม่คิดดอกเบี้ยหรือค่าธรรมเนียมใดๆ เพิ่มเติม แต่คุณในฐานะผู้เสียภาษีก็ต้องจ่ายภาษีให้ตรงกับวันที่ครบกำหนดชำระภาษี ไม่สามารถหยุดผ่อนจ่ายภาษีได้ ทั้งนี้เพราะ
กรมสรรพากรมีข้อกำหนดไว้อย่างชัดเจนว่า หากคุณไม่ได้ทำการจ่ายภาษีงวดใดงวดหนึ่งภายในระยะเวลาที่กำหนด การผ่อนจ่ายภาษีจะสิ้นสุดลงทันที และคุณจะต้องทำการจ่ายภาษีคงเหลือทั้งหมด พร้อมกับเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือนของภาษีงวดที่เหลือด้วย
สำหรับผู้เสียภาษีที่เลือกผ่อนจ่ายภาษีกับสรรพากรไม่ว่าช่องทางใดก็ไม่ต้องเป็นกังวลหรือกลัวว่าเราจะพลาดหรือลืมจ่ายภาษีงวดที่เหลือจนเป็นเหตุให้ต้องจ่ายเงินเพิ่ม เพราะกรมสรรพากรจะส่ง SMS แจ้งเตือนเมื่อครบกำหนดจ่ายภาษี ทำให้คุณจ่ายภาษีได้ตรงเวลาเป๊ะๆ
และไม่ว่าคุณจะเลือกจ่ายภาษีแบบเต็มจำนวนหรือผ่อนจ่ายภาษี เราอยากให้คุณเริ่มต้นวางแผนทางการเงินให้ดี เพื่อให้คุณสามารถจัดการจ่ายภาษีได้อย่างตรงเวลา และไม่ต้องเผชิญกับการจ่ายค่าปรับและเงินเพิ่ม และสำหรับใครที่กำลังกังวลและไม่แน่ใจว่า เมื่อเวลาที่ต้องจ่ายภาษีมาถึงเราจะมีเงินพร้อมจ่ายภาษีหรือไม่
เราขอแนะนำ สินเชื่อบุคคล เอ็กซ์ตร้าแคช ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย สินเชื่อเงินสดพร้อมใช้ วงเงินสำรองแบบไม่ใช้บัตร ตัวช่วยดีๆ ที่จะช่วยให้คุณมีเงินสำรองพร้อมใช้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ฉุกเฉินแค่ไหน พร้อมความสะดวกสบายที่มากกว่า เพราะคุณสามารถเบิก-ถอนวงเงินผ่านแอปฯ ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่ต้องง้อบัตร คิดดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก และคิดดอกเบี้ยเมื่อทำการเบิกถอนวงเงินเท่านั้น
สมัครสินเชื่อเงินสด เอ็กซ์ตร้าแคช (Extra Cash) ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย
สำหรับพนักงานประจำ ที่มีเงินเดือน 30,000 บาท ขึ้นไป สามารถสมัครวงเงินสดพร้อมใช้ สินเชื่อเอ็กซ์ตร้าแคช ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย สินเชื่อบุคคล วงเงินสำรองพร้อมใช้ ดอกเบี้ยต่ำ ได้ 3 ช่องทาง ได้แก่
- เว็บไซต์ https://www.cimbthaionlinecampaign.com/droplead/extra.html
- แอดไลน์ @cimbpersonalloan https://lin.ee/I1JAHpA
- สมัครสินเชื่อออนไลน์ ผ่านแอป CIMB THAI ของธนาคาร ดาวน์โหลดได้เลย ทั้งระบบ IOS และ Android คลิก
เงื่อนไขอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบุคคล
- กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว
- อัตราดอกเบี้ยอยู่ระหว่าง 18% - 25% ต่อปี
- อัตราดอกเบี้ย CLR ณ. วันที่ 4 ตุลาคม 2566 = 20% ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยลอยตัวสามารถเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้
หมายเหตุ
- วงเงินอนุมัติเป็นไปตามหลักเกณฑ์การพิจารณาสินเชื่อของทางธนาคาร
- อัตราดอกเบี้ยและ ข้อกำหนดเงื่อนไขเป็นไปตามธนาคารประกาศกำหนด
- เวลาให้บริการ จันทร์ – ศุกร์ เวลา 8:30 – 17:30 น.
- ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม CIMB Thai Care Center โทร. 02 626 7777